โคลดอลโด้ ได้บอลก่อนเลี้ยงชนะนักเตะอิตาลี สามราย จ่ายบอลให้ ริเวลิโน วิ่งสอดเข้าไปรับบอล ริเวลิดน กลับตัว และส่งต่อไปยัง แจร์ซินโญ ที่ขยับจากขวามาอยู่ทางซ้าย แจร์ซินโญ จ่ายตัดเข้าในให้ เปเล่ หมุนไปทางขวาแล้วไม่เจอใคร
คาร์ลอส โรแบร์โต้ พุ่งเข้าไปในจอภาพ เหมือนรถจักรไอน้ำด้วยความเร็ว ก่อนจะกดบอลเต็มข้อ และที่เหลือก็คือประวัติศาสตร์
🤩 Carlos Alberto Torres scored one of the greatest goals in #WorldCup history minutes before lifting the Jules Rimet Trophy 🏆
🔙 #OnThisDay in 2016 the @CBF_Futebol legend sadly passed away, aged 72. RIP 'Capita' ©️pic.twitter.com/nUVTOsEDvL
— FIFA World Cup (@FIFAWorldCup) October 25, 2020
เห็นได้ชัดว่าชัยชนะ เป็นเรื่องของทักษะและเทคนิค มันอาจจะเป็นคำที่ฟังแล้วดูน่าเบื่อ แต่มันคือจุดสูงสุดของทีมชาติบราซิล อย่างไรก็ตาม ประตูที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการเตรียมพร้อมทั้งทางร่างกาย และแท็คติกที่ยอดเยี่ยม ตลอดจนการรีดฟอร์มที่ดีที่สุดออกมา
บราซิลใช้เวลาสามเดือนในแคมป์เก็บตัว เพื่อสร้างร่างกายอย่างหนักหน่วงในช่วงก่อนฟุตบอลโลก เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมที่สุด สำหรับระดับความสูงของน้ำทะเล และความร้อนในกรุงเม็กซิโก ซิตี้ ในเส้นทางสู่รอบชิงชนะเลิศ ซากัลโล่ โค้ชของบราซิล ได้ส่งสเกาท์ อย่าง คาร์ลอส อัลแบร์โต้ เปไรรา ไปดูเกมรอบรองชนะเลิศ อีกคู่ระหว่าง อิตาลี กับ เยอรมัน
ทอสเทา กองหน้าตัวเป้าของบราซิล เชียนในหนังสืออัตถชีวประวัติ เกี่ยวกับเรื่องก่อนเกมว่า “เปไรร่า แสดงให้เราเห็น ด้วยภาพถ่ายหลายสิบภาพ และเรียงลำดับมัน ราวกับเป็นหนังแอนิเมชั่น ทั้งวิธีการเล่นของอิตาลี และที่สำคัญที่สุดคือ พวกเขาประกบตัวอย่างไร กองหลังทั้งสี่ จะประกบตัวต่อตัว ในขณะที่นักเตะคนหนึ่ง ในตำแหน่ง ลิเบโร่ จะอยู่ข้างหลังกองหลัง และ คอยสอดซ้อน”
“ไม่มีความแปลกใจในการแข่งขัน” ทอสเทา กล่าวต่อ มันค่อนข้างตรงกับที่คาดไว้ อิตาลี เล่นเกมรับแบบตัวต่อตัว โดยปล่อยให้ ลิเบโร่ คอยสอดซ้อนกองหลังทั้งสี่ และด้วยความล้าในครึ่งหลัง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ของการใช้แท็คติกแบบนี้ ในช่วงพักครึ่ง เมื่อสกอร์ยังอยู่ที่ 1-1 เราคุยกันและตกลงกันว่าในครึ่งหลัง เราน่าจะหาที่ว่างเจอ และจะทำให้เราชนะเกมนี้ และมันก็เกิดขึ้นจริง
1970 World Cup Final
ITV LIVE
The 4th and famous Carlos Alberto goal for Brazil against Italy.
One of the great World Cup goals.
Commentator Hugh Johns.@FootballArchive #Brazil pic.twitter.com/zyqtaAhlyW— TV Football 1968-92 (@1968Tv) April 16, 2020
ตามที่ระบุไว้ในช่วงก่อนหน้านี้ บราซิลไม่ได้ชนะเพราะทักษะอย่างเดียว แต่ยังเหนือกว่าในเรื่องของแท็คติก การเล่นแบบตัวต่อตัว เป็นระบบเกมรับที่พบบ่อยที่สุดในช่วงยุค 60-70 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอิตาลี อย่าง เนเรโอ รอคโค ที่เคยคว้าแชมป์รายการใหญ่กับ เอซี มิลาน ถึง 10 รายการ และ เฮเลนิโอ เอร์เรรา ซึ่งประสบความสำเร็จในแบบเดียวกันที่อินเตอร์ มิลาน จะเป็นคนที่สมบูรณ์ แบบสำหรับระบบของชาวอิตาเลียน
อย่างไรก็ตามในขณะที่บราซิลแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่พวกเขามีอยู่ การประกบตัวต่อตัว ทำให้เขาได้เปรียบ และเมื่อพวกเขาได้เปรียบ ก็ทำให้ ระบบการยืนโซนเข้ามาแทนที่ โดย นีลส์ ลีดโฮล์ม และที่สำคัญกว่านั่นคือ อาร์ริโก้ ซาคคี
อย่างไรก็ตาม ทริคได้ระบุไว้ได้อย่างถูกต้องในหนังสือบทที่ชื่อว่า The Low End Theory ในหนังสือ A Tribe Called Quest’s เมื่อปี 1991 ว่าทุกอย่างมันเป็นวัฏจักร และเช่นเดียวกับที่ บ็อบบี้ บรวน์ เป็นเหมือนกับ ไมเคิล ในช่วงต้นยุค 90 และทริคดังกล่าวก็ได้พูดถึง การประกบตัวต่อตัว และมันก็ถูกนำมาใช้อีกครั้งในเกมที่ บราซิลต้องเจอกับ อัซซูรี ทำไมถึงเป็นแบบนั้น ถึงเวลาปรับโฟกัสจาก อัซเทก้า ไปทาง เอลแลนด์ โร้ด
ลีดส์ ยูไนเต็ด – มนตร์เสน่ห์ของฟุตบอล
ลีดส์ ยูไนเต็ด มีสไตล์การเล่นที่เร้าใจอย่างมากในฤดูกาลนี้ ภายใต้การคุมทีมของ มาร์เซโล เบียลซา พวกเขาวิ่ง สู้ ยิงประตู เสียประตู และโดยทั่วไป มันจะมีการเสียเลื่อดอยู่เสมอ และทีมของเขาก็จบลงด้วยการเป็นอันดับ 9 และถือเป็ฯความสำเร็จ แะส่วนใหญ๋ของความสำเร็จ นั้นมักจะถูกนำไปเชื่อมโยงกับอดีต – สิ่งที่ โอบีวัน เคโนบี ที่กลายเป็นเจได นั้น เบียลซา ก็ได้นำศิลปะเหล่านั้นมาใส่ในการเล่นแบบ แมน ทู แมน
การเกิดขึ้นใหม่ เช่นเดียวกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันมีช่องว่างเสมอ อย่างระบบกาเตนัชโช่ของ อิตาลี ที่มีชื่อเสียงในเรื่องของการปลูกฝังเกมรับ กับนักเตะของเขา เอิร์นส์ ฮัปเปล อดีตผู้จัดการทีมชาติฮอลแลนด์ เคยกล่าวไว้ว่า “ถ้าคุณประกบตัวต่อตัว มันก็เหมือนคุณส่งลาลงสนามไป 11 ตัว” อย่างไรก็ตาม ฟุตบอลของเบียลซา มันน่าตื่นเต้นกว่ามาก ทีมของเขาเดินหน้าเข้าใส่ และโจมตีในทุกโอกาส พวกเขาไม่ใช่ลาแต่พวกเขาคือของแท้
การประกบตัวต่อตัว และ สไตล์เกมรุก
การผสมผสานระหว่างการประกบตัวต่อตัวเข้ากับรูปแบบการเล่นเกมรุก เขาต้องพยายามบีบคู่ต่อสู้ให้ไม่มีเวลาหายใจ และมันทำให้สามารถจัดระเบียบได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนการประกบตัวต่อตัวอย่างชาญฉลาด
เบียลซา ไม่ได้เป็นคนเดียวที่ใช้การกดดันแบบตัวต่อตัว บาเยิร์น มิวนิค ก็ใช้การประกบตัวต่อตัวในการเพรสแดนบน ซึ่งมันเกิดขึ้นภายใต้การคุมทีมของ ฮันซี ฟลิค และทีมชาติฮอลแลนด์ ของหลุยส์ ฟาน กัล ที่ใช้การประกบตัวต่อตัว ระหว่างกดดันในฟุตบอลโลก 2014 ความแตกต่างคือสองตัวอย่างนี้ และยังมีอีกมากมาย มันเป็นระบบที่ยืดหยุ่น
เมื่อบอลเข้าใกล้แนวรับมากขึ้น พวกเขาจะเปลี่ยนไปใช้แท็คติกให้ทันสมัยมากขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น โดยที่กองหลังแต่ละคนอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า กองหลังตัวแรก และกองกลางของเบียลซา จะยืนไม่ห่างกันมาก เพื่อไม่ให้เกิดพื้นที่ว่าง
อย่างไรก็ตาม หน้าของ เบียลซา ก็แตกเป็นชิ้น ลองนึกถึงเกมที่โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด ในช่วงเดือน ธันวาคม 2020 ที่ สกอตต์ แม็คโทมิเนย์ แปลงร่างเป็น เซอร์ บ็อบบี ชาร์ลตัน อย่างไรก็ดี ลีดส์ ก็ได้เสียสละ เหมือนกับนักเตะในยุค 70 ที่พยายามทำงานหนัก และพวกเขาก็ได้ผลที่ดีอย่างน่าแปลกใจตลอดทั้งฤดูกาล บางทีพวกเขาอาจจะก้าวไปอีกระดับในฤดูกาลหน้า หลังจากที่ได้ซ้อมร่วมกันมากขึ้นในช่วงปรีซีซั่นหนนี้
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเพ้อไปไกล มาเข้าเรื่องก่อน การกลับมาของ เบียลซา ได้สร้างแรงบันดาลใจให้ทีมอื่น นอกจากน้านเขายังสร้างแรงบันดาลใจให้กับโค้ชสมัยใหม่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น เป็ป กวาร์ดิโอลา ที่นับถือเขา หรือ เมาริซิโอ โปเช็ตติโน ที่ยกให้เขาเป็นพ่อคนที่สอง และ เจอร์เก้น คล็อปป์ ก็ยกย่องเบียลซา ว่า มี “สมองของฟุตบอลที่ยอดเยี่ยม” และ กลยุทธ์ แมนทูแมนของเขาก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพมากในลีกที่ดีที่สุดในโลก
โปเช็ตติโน พูดถึงแท็คติก ของเบียลซา “มันเป็นเรื่องของความกล้าหาญ และการเล่นเกมรับแดนบน”
อย่างไรก็ตาม สาวกของ เบียลซา ส่วนใหญ่ ไม่ได้มองเรื่องของแท็คติกการเล่นแบบตัวต่อตัว แต่มองเรื่องการให้คำแนะนำที่แปลกประหลาดของเขา โดย โปเช็ตติโน ได้สรุป ความแตกต่างระหว่างทีมของเขา กับทีมของอาจารย์ในปี 2020
“มันเกี่ยวกับความกล้าหาญ และการเล่นป้องกันแดนบล หากคุณเอาบอลคืนมาได้ คุณสามารถโจมตีได้อย่างรวดเร็ว และแน่นอน นั่นคือผลลัพธ์เมื่อโค้ชหรือผู้จัดการทีมพร้อมที่จะกดดันแนดบน แต่มันขึ้นอยู่กับว่า คุณวางตัวอย่างไร หากพวกเขาเอาชนะการกดดันแดนบนครั้งแรกของคุณได้ มันอยู่ที่ว่าคุณจะทำอะไรต่อ จะประกบตัวต่อตัวหรือว่าคุณจะเล่นเป็นทีมเวิร์ค”
แม้แต่ เบียลซา ก็ยอมรับว่าระบบของเขามีจุดอ่อน “ข้อดีของการกดดันบางครั้งมันแสดงให้เห็นถึงจำนวนการป้องกัน ในยามประกบตัวต่อตัว” เขากล่าวกับ Sky ในปี 2020 แต่ผมต้องการสร้างระบบที่สามารถรับมือกับความกดดันของผู้เล่นทุกคนในตำแหน่งที่ถูกต้อง พื้นที่ที่จะป้องกันคู่ต่อสู้ โดยไม่ทำให้นักเตะตัวหลักของเราโดนประกบไปด้วย
“ระบบตัวต่อตัว อาจจะเป็นจุดอ่อนของทีมผม เป็นสิ่งที่ผมไม่สามารถหาวิธีแก้ปัญหาที่เพอร์เฟคต์ได้ตลอดเ 30 ปี ในฐานะผู้จัดการทีม ดังนั้น ผมตั้งข้อสงสัยว่า ผมจะแก้ไขได้ในตอนนี้”
อย่างไรก็ตามอิทธิพล อีกประการหนึ่งของ เบียลซิสต้า อาจกำลังจะปรากฏขึ้น ในบรรดาโค้ชแนวหน้าของยุโรป ซึ่งจะเน้นที่การประกบตัวต่อตัวมากขึ้น เหมือนเบียลซา อย่าง ฮอร์เก้ ซามเปาลี ที่เข้าไปคุมทีมมาร์กเซย์ หลังจากทีได้คุมทีม ยูนิเวอซิดัด เด ชิลี, ชิลี, ซานโตส และ แอตเลติโก มิเนโร ล้วนเน้นไปที่การประกบตัวต่อตัว แต่เขามีประสบการณ์เล็กน้อยในยุโรปมาก่อน หลังได้ทำงานสองปีกว่ากับ เซบีญา เมื่อชวปี 2016-17 ถ้าเขาประสบความสำเร็จที่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส จะเป็นการยืนยันแนวทางของเบียลซาได้เป็นอย่างดี
เอร์นาน เครสโป อีกหนึ่งลูกศิษย์
ในขณะเดียวกัน เอร์นาน เครสโป มีความสัมพันธ์ทั้งรักและชีงกับ เบียลซา ในขณะที่เล่นด้วยกัน และตอนนี้เขาก็ได้เป็นโค้ช เขาพาทีมคว้าแชมป์ กับสองสโมสร ในรอบสี่เดือน เมือต้นปี 2021 ซึ่งบ่งชี้ได้ว่า เขากำลังพัฒนาเป็นโค้ชที่มากกว่าความสามารถ และมีอิทธิพล อย่างมากในทีมเซาเปาโล ของเขาซึ่งได้แชมป์ คัมปิโอนาโต้ เปาลิสต้า เมื่อเดือน พฤษภาคม
นอกจากการกดดันแล้ว นักเตะทุกคนของเครสโป ต่างตามประกบตัว อย่างไรก็ตาม นักเตะบางคนของเขาอย่าง กองกลางตัวรับ อย่าง ลูอัน ในเกมนัดชิงชนะเลิศ กับ พัลไมรัส ได้รับมอบหมายให้ตามคู่ต่อสู้ไปทุกจุดของสนาม จนไม่มีพื้นที่หายใจ หากความสำเร็จของเครสโปยังคงต่อเนื่อง เขาอาจจะได้งานในยุโรป กับทีมที่มองหาโค้ชที่มีความทะเยอทะยานและกล้าหาญ และถ้าเขาเข้ามา ก็แทบจะนำอิทธิพล ที่บ่งบอกถึงตัวเขาสู้ทุกคนในทีมด้วย
ผู้จัดการทีมคนอื่นเริ่มปฏิบัติบ้างไหม?
แท็คติกจากอดีต จะกลายเป็นเทรนด์ไหม? มันยังคงมีให้เห็นอยู่ แต่ตอนนี้พวกเขามีแผน และพิสูจน์ว่าการประกบตัวต่อตัว ยังคงเวิร์คอยู่ในระดับสูงสุด แม้กระทั้งคนที่เลี้ยงบอล และนักเตะที่เก่งที่สุดในโลก
ในทางกลับกัน คนอื่นๆ ที่ ต้องการใช้แผนประกบตัวต่อตัว ตาม อาจจะต้องมีคู่มือของเบียลซา ทีมต้องใช้แท็คติกตามที่มอสเมา มักจะบอกเสมอว่าต้องใช้ความพยายามและสมาธิระดับสูงเช่นนี้ ดังนั้นหากโค้ชต้องการใช้มันเพื่อครองความได้เปรียบที่มี เมื่อโดนกดดันพวกเขาจะต้องทำให้ทีมเกิดความสมดุลที่สุดเมหือนกับลีดส์ และแทนที่จะประกบตัว มันอาจจะเป็นงานที่ยากที่สุด